หลังจากนับคะแนนไปได้เกือบทั้งหมด ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ชี้ว่าพรรคของรัฐบาลเดิมเป็นผู้คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ตามโพลที่หลายฝ่ายเคยคาดการณ์ไว้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เมื่อช่วงสายที่ผ่านมาตามเวลาบ้านเรา( 22 พ.ค.) ทางกระทรวงมหาดไทยกรีซ ได้รายงานผลการนับคะแนนของการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2023 ที่นับไปแล้วร้อยละ 99.59 จากจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง กว่า 6 ล้านคน
นานาชาติ จับตาการเลือกตั้งกรีซ ความหวังใหม่ของประเทศ
กรีซรับมอบชิ้นส่วนประติมากรรมวิหารพาร์เธนอนคืนจากวาติกัน
ผลปรากฏว่าพรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคฝ่ายขวาและรัฐบาลชุดปัจจุบันของกรีซ คว้าชัยในการเลือกตั้งครั้งนี้ไปด้วยคะแนน 2,403,031 คะแนนหรือราวร้อย 40.79 คิดเป็นที่นั่งสภา 146 ที่นั่ง
ส่วนพรรคที่ได้คะแนนรองลงมา คือ พรรคซีริซา พรรคฝ่ายซ้ายและแกนนำฝ่ายค้านชุดปัจจุบัน ที่ได้คะแนนไป 1,182,101 คะแนน หรือราวร้อยละ 20 ได้ที่นั่งในสภาไป 71 ที่นั่ง
ขณะที่พรรคอันดับสาม คือ พรรคปาโซค-คินัล ได้คะแนนไป 675,134 คะแนน หรือราวร้อยละ 11 ได้ที่นั่งในสภาไป 41 ที่นั่ง
พรรคที่ได้อันดับที่สี่ คือ พรรคคอมมิวนิสต์กรีซ ได้คะแนนไป 425,675 คะแนนหรือราวร้อยละ 7 ได้ที่นั่งในสภาไป 26 ที่นั่ง
และพรรคสุดท้ายที่ได้เข้าไปนั่งในสภาคือ พรรคกรีกโซลูชัน ได้คะแนนไป 262,219 คะแนน หรือราวร้อยละ 4.5 ได้ที่นั่งในสภาไป 16 ที่นั่ง
หลังจากผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการออกมา คีรีอาคอส มิตโซทาคิส หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ ว่าที่นายกรัฐมนตรีก็ได้ออกมาแถลงขอบคุณประชาชน หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ระบุว่า เขาตื้นตันกับคะแนนจำนวนมากที่มาจากความไว้ใจของประชาชน และสัญญาว่าจะเดินหน้าพัฒนาประเทศต่อไป
ด้านอเล็กซิส ซิปราส หัวหน้าพรรคซีริซา ก็ได้ออกมาแถลงยอมรับความพ่ายแพ้และกล่าวขอบคุณประชาชนที่เลือกพรรคซีริซา โดยเขาระบุว่า การเลือกตั้งต้องมีแพ้ชนะเป็นเรื่องธรรมดา แต่การเลือกตั้งยังไม่จบ เขาจะเตรียมหาเสียงเพื่อเตรียมสู้ศึกเลือกตั้งรอบสองที่จะมีขึ้นในอีก 8 สัปดาห์ข้างหน้า
แม้ผลการเลือกตั้งจะออกมาชัดเจนว่าพรรคพรรคประชาธิปไตยใหม่สามารถคว้าชัยการเลือกตั้งไปได้แบบทิ้งห่างพรรคฝ่ายซ้ายซึ่งคู่แข่งสำคัญ แต่ก็ยังไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้เนื่องจากมีเสียงสส.ไม่ถึง 151 เสียงหรือเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนสส.ทั้งหมดที่มี 300 ที่นั่งในสภา
ขณะเดียวกัน ทางพรรคผู้ชนะการเลือกตั้งก็ยืนยันว่าไม่ต้องการจัดตั้งรัฐบาลผสม เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพพอที่จะบริหารประเทศไปได้อีก 4 ปี ในกรณีเช่นนี้ กรีซจะแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้ได้รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ
คำตอบคือ คาเธอรีนา สาเกลลาโรปูลู ประธานาธิบดีกรีซ จะแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการเพื่อจัดการเลือกตั้งรอบสอง ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน หรือวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคมนี้ อย่างไรก็ดี กติกาการเลือกตั้งรอบสองจะเปลี่ยนไปจากรอบแรก โดยจะเป็นกติกาที่เรียกว่า ระบบกึ่งสัดส่วน แบ่งที่นั่งของสส.ออกเป็น 250 ต่อ 50 ที่นั่ง ทั้งนี้จำนวน 250 ที่นั่งแรก จะถูกคิดมาจากคะแนนเสียงของประชาชนที่มอบให้แก่พรรคนั้นๆ เหมือนกับระบบการเลือกตั้งในรอบแรก ส่วนอีก 50 ที่นั่งที่เหลือจะถูกสำรองไว้เป็นโบนัสให้กับพรรคที่ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ดี ไม่ใช่พรรคที่ชนะจะได้โบนัสทั้ง 50 ที่นั่งนี้ เพราะ 50 ที่นั่งในสภาที่เหลือนี้ จะถูกมอบให้แก่พรรคที่ได้ชัยชนะตามร้อยละของคะแนนที่ได้จากประชาชน โดยต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าพรรค A ชนะการเลือกตั้งรอบสองด้วยคะแนนเสียงจากประชาชนร้อยละ 25 พรรค A จะได้โบนัสเป็นเก้าอี้สส.เพิ่มอีก 20 ที่นั่ง และจะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามคะแนนที่ประชาชนให้ แต่ถ้าพรรค A ชนะการเลือกตั้งรอบสองด้วยคะแนนเสียงจากประชาชนราวร้อยละ 40 หรือมากกว่านั้น พรรค A จะได้โบนัสเป็นเก้าอี้สส.ทั้ง 50 ที่นั่ง ซึ่งจะเพียงพอต่อการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากแบบพรรคเดียว เพราะคะแนนเสียงจากประชาชนราวร้อยละ 40 สามารถคิดเป็นที่นั่งของสส.ในสภาได้ประมาณ 146 ที่นั่ง เมื่อรวมกับเก้าอี้โบนัสอีก 50 ที่นั่ง จะทำให้พรรค A มีจำนวนสส.มากถึง 196 จาก 300 ที่นั่ง
เงื่อนไขนี้ให้กับพรรคที่ชนะการเลือกตั้งในรอบที่สองเท่านั้น เพื่อช่วยให้เพียงพอต่อการจัดตั้งรัฐบาล และทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพพอที่จะบริหารประเทศต่อไปได้ในช่วงเวลา 4 ปีหลังจากนี้
หลายฝ่ายมองว่า ถ้าดูจากผลการเลือกตั้งในรอบแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีความเป็นไปได้สูงที่พรรคประชาธิปไตยใหม่ของนายกรัฐมนตรีกรีซคนปัจจุบัน จะชนะการเลือกตั้งในรอบที่ 2 และกลับเข้ามาบริหารประเทศต่ออีก 4 ปี
นโยบายหลักที่พรรคประชาธิปไตยใหม่ให้สัญญากับประชาชนว่าจะทำหลังจากชนะการเลือกตั้ง คือ นโยบายลดอัตราภาษี ลดตัวเลขอัตราการว่างงาน เพิ่มเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ และตั้งเป้าว่าจะทำให้เศรษฐกิจของกรีซบรรลุการเติบโตให้ได้ร้อยละ 3 ต่อปี
ต้องติดตามกันต่อในเดือนกรกฎาคมว่า พรรคประชาธิปไตยใหม่จะสามารถคว้าคะแนนเสียงได้ถึงร้อยละ 40 ซึ่งเป็นสัดส่วนเท่ากับรอบแรก เพื่อให้ได้สส. โบนัส ในการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากที่มีเสถียรภาพได้หรือไม่
นอกจากที่การเลือกตั้งที่กรีซแล้ว เมื่อวานนี้มีอีกหนึ่งประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจคือ การชุมนุมในมอลโดวา ประเทศเล็กๆ ในยุโรปตะวันออกที่มีชายแดนกับยูเครน และเป็นจุดที่หลายฝ่ายกังวลว่าอาจถูกดึงเข้ามาพัวพันกับสงครามในยูเครน
ประชาชนราวหนึ่งหมื่นคนได้ออกมารวมกันที่กรุงคิชิเนฟ เมืองหลวงของประเทศมอลโดวา เพื่อให้กำลังใจรัฐบาลสายโปรสหภาพยุโรปที่นำโดยประธานาธิบดีไมอา ซานดู ธงชาติสีน้ำเงิน เหลือง แดงของมอลโดวา และธงชาติสีน้ำเงินพร้อมดาวสีเหลืองของสหภาพยุโรปทั้งเล็กและใหญ่โบกสะบัด ตลอดจนมีเสียงตะโกนเป็นระยะๆ ว่า “ยุโรป” ขณะที่ประธานาธิบดีซานดู พร้อมกับโรเบอร์ตา เมตโซลา ประธานรัฐสภายุโรป ขึ้นเวทีปราศรัย
ประธานาธิบดีซานดูระบุบนเวทีปราศรัยว่า มอลโดวาคือประเทศยุโรปและมอลโดวาจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแบบเต็มตัวภายใน 7 ปีหลังจากนี้ พร้อมย้ำว่า การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต้องเกิดขึ้นในยุคนี้เท่านั้น ด้านประชาชนที่มาให้กำลังใจประธานาธิบดีซานดูระบุว่า การเข้าเป็นสมาชิกอียูจะทำให้ชาวมอลโดวามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มอลโดวาถือเป็นประเทศยุโรปที่ยากจนเป็นอันดับ 2 รองจากยูเครน โดยประชาชนมีรายได้ต่อปีอยู่ที่ 4,570 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 157,000 บาทเท่านั้น เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก และสินค้าต่างๆ ต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก
การเข้าร่วมสหภาพยุโรปจะทำให้มอลโดวาเชื่อมโยงเศรษฐกิจตนเองเข้าสู่ตลาดใหญ่อย่างสหภาพยุโรปได้ รวมถึงจะสามารถรับความช่วยเหลือด้านการเงินและแผนพัฒนาเศรษฐกิจตามยุโรปได้ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพที่ชีวิตที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมอลโดวายังเคยระบุว่า การเข้าร่วมกับสหภาพยุโรปจะทำให้มอลโดวาปลอดภัยและไม่ถูกรัสเซียข่มขู่คุกคามแบบเดียวกับที่ยูเครนกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้
นี่เป็นสาเหตุทำให้ที่ผ่านมา รัฐบาลของประธานาธิบดีซานดูแสดงจุดยืนชัดเจนว่าต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
นี่ทำให้รัสเซียไม่พอใจอย่างหนัก เนื่องจากมอลโดวามีชายแดนติดกับยูเครน คู่สงครามของรัสเซีย และมอลโดวาก็เคยเป็นเขตอิทธิพลหนึ่งของรัสเซีย ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นสหภาพโซเวียต
ด้วยเหตุนี้ ทำให้รัสเซียพยายามใช้ทุกวิถีทางเพื่อกดดันรัฐบาลมอลโดวาไม่ให้หันไปเข้าร่วมยุโรป โดยการใช้วิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
เช่น การข่มขู่ว่าจะใช้กองกำลังที่ประจำอยู่ในภูมิภาคทรานส์นีสเตรียและแคว้นกาเกาเซีย ทางตะวันออกของมอลโดวา เพื่อปกป้องคนมอลโดวาที่พูดภาษารัสเซีย
กลยุทธ์อื่นๆ ก็เช่น การส่งบุคคลต่างชาติเข้ามาก่อเหตุประท้วงและความวุ่นวายในกรุงคิชิเนฟ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างยึดอำนาจและทำรัฐประหารประธานาธิบดีซานดู รวมไปถึงการข่มขู่ว่าจะตัดการส่งก๊าซไปยังมอลโดวา เพื่อหวังให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากราคาค่าครองชีพที่สูงขึ้นจนต้องออกมาขับไล่รัฐบาล
อย่างไรก็ดี มอลโดวาได้สถานะเป็นผู้สมัครจากสหภาพยุโรปแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนปีที่แล้วพร้อมกับยูเครน
ดังนั้น การออกมาชุมนุมของประชาชนในวันนี้ จึงเป็นไปเพื่อแสดงพลังและเรียกร้องให้สหภาพยุโรปเริ่มกระบวนเจรจาทำภาคยานุวัติ ซึ่งเป็นกระบวนการก่อนที่มอลโดวาจะได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเต็มรูปแบบในอนาคต